"ตกแต่ง “ห้องครัว” ให้สะดวกพร้อมรับการใช้งาน"

SB designsquare

21075 views

tag icon

ห้องครัว...ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ สิ่งสำคัญมากที่สุดในการออกแบบตกแต่งห้องครัว คือ การเลือกจัดวางฟังก์ชั่นต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน โดยจะต้องออกแบบจัดวางพื้นที่ใช้งานของห้องครัวให้มีลักษณะต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน รวมถึงเรียงลำดับการใช้งานให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานด้วย

หลักในการเลือกออกแบบรูปแบบชุดครัวนั้น มีหลากหลายรูปแบบ เราสามารถเลือกให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ที่เรามี และความต้องการใช้งานได้ ดังนี้

1. รูปแบบ Linear หรือ I – Shape รูปแบบนี้เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด สามารถออกแบบให้ห้องครัวเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นในบ้านได้ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือห้องทานข้าว อุปกรณ์ใช้งานต่างๆ จะถูกเรียงจากขวาไปซ้ายอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน หากต้องการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บ สามารถจัดวางใต้เคาน์เตอร์ชุดครัว หรือใช้ตู้ลอยติดผนังให้อยู่แนวเดียวกับเคาน์เตอร์ครัวได้

2. รูปแบบ Corner หรือ L-Shape เป็นรูปแบบชุดครัวที่หลายบ้านนิยมเลือกใช้ แต่รูปแบบครัวลักษณะนี้เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีพื้นที่มากพอสมควร ครัวรูปแบบ L-Shape จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกเป็นส่วนตัวในการทำอาหาร รวมทั้งทำให้มีพื้นที่จัดเก็บสิ่งของและพื้นที่ในการทำครัวมากขึ้น และสามารถจัดพื้นที่บางส่วนให้เป็นโซนทานอาหารได้ด้วย

ครัวรูปแบบ L-Shape หากจัดวางไว้บริเวณมุมบ้าน เราสามารถเพิ่มช่องรับแสงให้กับชุดครัวได้ ด้วยการเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังทั้ง 2 ด้าน เพื่อเปิดรับแสงอย่างเต็มที่ สำหรับการเลือกอุปกรณ์ในการติดตั้งชุดครัวบริเวณมุมของตัว L ซึ่งเป็นจุดอับ ควรเลือกอุปกรณ์การติดตั้งที่เหมาะกับพื้นที่เข้ามุมและใช้งานง่าย เช่น Push to open, ลิ้นชักแบบ Soft Close เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย

3. รูปแบบ U-Shape เป็นรูปแบบชุดครัวที่มีพื้นที่ใช้งานมากที่สุด เพราะจะสามารถเพิ่มตู้เก็บของไปกับผนังได้ทั้ง 3 ด้าน ครัวรูปแบบนี้สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก  แต่ไม่ควรออกแบบชุดครัวแต่ละด้านให้มีระยะห่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้เสียเวลาในการเดินหยิบจับสิ่งของระหว่างการทำอาหาร ระยะห่างที่เหมาะสมของแต่ละด้าน คือ 150 – 200 ซม. ชุดครัวรูปแบบนี้ สามารถจัดฟังก์ชั่นใช้งานได้หลากหลาย คือ เป็นทั้งโซนทำอาหารและโต๊ะทานข้าว ได้ในพื้นที่เดียว

4. รูปแบบ Island เป็นรูปแบบชุดครัวที่เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่มาก โดยส่วนที่เพิ่มมาเป็นเกาะกลาง (Island) นั้น สามารถจัดวางให้เป็นพื้นที่เตรียมอาหาร  พื้นที่ทำอาหาร (เตาทำอาหาร) หรือพื้นที่ทำความสะอาด (อ่างล้างจาน) ซึ่งเกาะกลางควรมีความสูงประมาณ 90 ซม. (ควรพิจารณาความสูงของผู้ใช้งานประกอบการออกแบบ) รวมถึงมีระยะห่างจากเคาน์เตอร์และผนังด้านต่างๆ อย่างน้อย 120 ซม.

5. รูปแบบ Parallel คือการจัดวางชุดครัวติดผนังในแนวเส้นตรงทั้งสองฝั่งผนัง ชุดครัวรูปแบบนี้ต้องการพื้นที่ห้องครัวที่มากขึ้น เนื่องจากจะต้องมีระยะห่างไว้เพื่อการเปิดตู้หรือลิ้นชัก สำหรับเคาน์เตอร์ครัวทั้ง 2 ด้าน อย่างน้อย 120 ซม. โดยสามารถจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ บนเคาน์เตอร์ครัวทั้ง 2 ฝั่ง หากห้องครัวมีหน้าต่างและเลือกใช้รูปแบบครัวนี้ ควรให้ฝั่งที่รับแสงจากหน้าต่างเป็นพื้นที่สำหรับการทำความสะอาด (อ่างล้างจาน)

เมื่อเลือกรูปแบบครัวที่เหมาะกับลักษณะบ้านของคุณได้แล้ว อย่าลืมเลือกฟังก์ชั่นภายในชุดครัวให้ตอบรับกับการใช้งานด้วย ซึ่งฟังก์ชั่นการใช้งานครัวในปัจจุบันได้พัฒนา และมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ คุณสามารถปรึกษาอินทิเรียร์ดีไซน์เนอร์มืออาชีพ เพื่อช่วยให้การออกแบบชุดครัวตอบโจทย์การใช้งานของคุณได้มากที่สุด

บอกความสมบูรณ์แบบแห่งไลฟ์สไตล์สุดเอ็กซ์คลูซีฟของคุณด้วย küche แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ครัวบิลท์อินระดับพรีเมี่ยม สวยและโดดเด่นไปกับหลากวัสดุสุดหรูนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ วีเนียร์สี Dark Ebony, ลายหนัง Crocco, ลายหนัง Ostrich, Gold Mirror และครบถ้วนทุกฟังก์ชั่นใช้งานที่คุณเลือกออกแบบได้ตามใจ

สัมผัสเสน่ห์หรูอีกระดับของครัวบิลท์อิน จาก küche พร้อมรับคำปรึกษาฟรีจาก SB Interior Designer ได้ที่ เอสบี ดีไซน์สแควร์ ทุกสาขา โทร 02 115 0555  หรือ http://www.sbdesignsquare.com/th

#kuchebuiltinkitchen #sbinteriordesigner

ดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่